วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558








อินเทอร์เน็ต






          หาดไร่เลย์   ตั้งอยู่ใน ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นหาดทรายสีขาวละเอียดริมโตรกผา ซึ่ง หาดไร่เลย์ เป็นที่รู้จักดีในหมู่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบกิจกรรมปีนหน้าผา และ หาดไร่เลย์ แบ่งออกเป็น หาดไร่เลย์ตะวันออก (หาดน้ำเมา) และ หาดไร่เลย์ตะวันตก มีโขดหินคั่นระหว่างหาดทั้งสอง บริเวณหาดมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวหลายแห่ง เดินทางเข้าถึงได้โดยทางเรือจากอ่าวนางใช้เวลา 10 นาที     หากจะพูดถึง ไร่เลย์ หรือ หาดไร่เลย์ อาจกล่าวได้ว่ายังไม่เป็นที่รู้จักของคนไทยกันเท่าไหร่นัก หากแต่ในสายตาของชาวต่างประเทศแล้ว หาดไร่เลย์ เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาช้านาน มีรีสอร์ทสวยงามหลายระดับราคาอยู่มากมาย อาจเพราะความเงียบสงบ และแวดล้อมด้วยธรรมชาติที่สวยงาม

          หาดไร่เลย์ หลายคนอาจเข้าใจว่าเป็น "เกาะ" แต่จริง ๆ แล้ว หาดไร่เลย์ ตั้งอยู่บนผืนแผ่นดิน แต่ที่ต้องเดินทางด้วยเรือ เพราะ หาดไร่เลย์ ถูกภูเขาล้อมรอบทุกด้าน ทำให้ผู้คนที่จะเดินทางมาเที่ยวหาดไร่เลย์ ต้องนั่งเรือเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งนี่อาจเป็นอีกผลหนึ่งทำให้ชาวบ้านที่ หาดไร่เลย์ ยังไม่ถูกเทคโนโลยีหรือความเจริญกลืนกิน รวมถึงวิถีชีวิตของหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ ที่ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย โดยที่ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และการใช้ชีวิตได้อย่างลงตัว
 อย่างไรก็ตาม นอกจากน้ำสวย ทะเลใสแล้ว หาดไร่เลย์ ยังได้ชื่อว่ามี "พระอาทิตย์ตก" ที่สวยงามบาดตา เพราะเมื่อพระอาทิตย์ตก แสงแดดจะสะท้อนเงาจากหินลงไปที่อ่าว ภาพต้นมะพร้าวเรียงกันเป็นทิวแถว เรือประมงจอดเรียงรายที่ชายฝั่ง ภาพดังกล่าวเป็นเหมือนแดนสวรรค์อันสุขสงบ

          นอกจากนี้ หาดไร่เลย์ ยังมีจุดเด่นที่กิจกรรมการปีนผา เพราะที่ หาดไร่เลย์ มีผาหินปูนมากมาย ซึ่งการปีนผาที่ ไร่เลย์ สามารถทำได้ทั้งปี โดยในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรม "ปีนผา" และบริเวณที่นิยมปีนผาคือบริเวณ ไร่เลย์ตะวันออก อ่าวต้นไทร และ เขาแถวถ้ำพระนางใน
          
 การเดินทาง

          ต้องเดินทางโดยทางเรือเท่านั้น สามารถขึ้นเรือได้ที่ท่าเรือเจ้าฟ้า ในตัวเมืองกระบี่ หรือที่ท่าเรืออ่าวน้ำเมา ท่าเรือที่อ่าวนาง และท่าเรือที่หาดนพรัตน์ธารา ซึ่งการเดินทางใช้เวลาประมาณ 15 นาที ถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่ง แล้วแต่จุดที่ออกเรือ อย่างไรก็ตาม หากนั่งเรือหางยาวไป หาดไร่เลย์ ลงเรือที่อ่าวนางสะดวกที่สุด เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ลงเรือที่นี่ ทำให้ไม่ต้องรอนาน และใช้เวลาเดินทางเพียง 15 นาทีเท่านั้น

         
            www. http://travel.kapook.com/  อินเทอร์เน็ต  คือ  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิอีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
            เวิลด์ไวด์เว็บ (อังกฤษ: World Wide Web, WWW, W3 ; หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า "เว็บ") คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนด URL คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต โดยจริงๆแล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต
            http คือโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศผ่านอินเทอร์เน็ต โดยการนำไฟล์เอกสารไปเชื่อมต่อเข้ากับ World Wide Web (WWW) ซึ่งการเรียกใช้ไฟล์จะต้องทำผ่านโดยการเปิดโปรแกรมสำหรับดูเว็บไซต์ (Web Browser) เช่น IE, Chorme, Safari เป็นต้น โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลจะเป็นไปในลักษณะของ Client – Server คือผู้ใช้ (Client) จะต้องทำการร้องขอไปยัง Server ในลักษณะของการพิมพ์ชื่อเว็บไซต์หรือคลิกลิงค์ เพื่อให้ฝั่ง Server ส่งข้อมูลกลับมาแสดงบน Web Browser ที่ตนกำลังใช้งานอยู่

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ใบงาน เรื่องอินเตอร์เน็ต




ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1.อินเตอร์เน็ต คือ
……
อินเทอร์เน็ต  หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง 
อาทิอีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………….
2.จงอธิบายพัฒนาการของอินเตอร์เน็ตมาพอสังเขป
อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (ArpA net เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของ
กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)
ปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา
(Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ
 (Defense Communication Agency)
ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพ
ใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก
ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง 
และใช้ชื่อว่า NSFNET  และพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต
 และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา   จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต
สำหรับประเทศไทย นั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์
ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อ เดือนสิงหาคม 2535
ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความ
นิยมอย่างมากในอเมริกา
อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web)
 และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น)…………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………….
3.การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตต้องทำอย่างไรบ้าง
การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่อินเทอร์เน็ตผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องมีบีประจำเครื่อง (Account Number)
 ที่ศูนย์บริการ แล้วเชื่อโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องที่ศูนย์บริการ โดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านทางโมเด็ม (Modem) และจะมีซอฟต์แวร์
ทำหน้าที่แปลงคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เป็นเทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์บริการเมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ผู้ใช้จะมี User ID
 หรือ User name หรือ Login name  และ Password ผู้ใช้จะต้องจัดเตรียมและเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังนี้
1.เครื่องคอมพิวเตอร์  ไม่จำกัดชนิดและยี่ห้อ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะใช้เครื่อง PC 
2.โมเด็ม ทำหน้าที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ ความเร็วของโมเด็มเป็นความเร็วในการส่งข้อมูลผ่าน
สายโทรศัพท์ โมเด็มมีขนาดความเร็วต่าง ๆ กัน   โมเด็มมีขนาดความเร็วสูงตั้งแต่ 14.4 Kbps ขึ้นไป  ส่วนใหญ่แล้วจะมีความสามารถ
รับส่ง Fax ได้ด้วย เรียกกว่า Fax Modem โมเด็มที่มีความเร็วสูงจะมีราคาแพงกว่า ความเร็วของโมเด็มวัดเป็นบิดต่อวินาที (bps)
      โมเด็มแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) โมเด็มภายใน (internal modem) เป็นการ์ดที่เสียบลงบนสล็อต (slot) ของเมนบอร์ด
2)โมเด็มภายนอก (External nodem) เป็นกล่องขนาดเล็ก มีพอร์ต (port)  เพื่อเสียบสัญาณจากคอมพิวเตอร์เข้าโมเด็ม มีช่องสำหรับเสียบ
สายโทรศัพท์ และมีสายไฟจากโมเด็มเพื่อต่อเข้ากับไฟบ้าน
3. โทรศัพท์  เพื่อเชื่อมต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม  เพื่อให้สัญญาณข้อมูลส่งผ่านสายโทรศัพท์  ดังนั้นผู้ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ต
  จะต้องมีโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายในการต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต 
4.ซอฟต์แวร์  ในการใช้อินเทอร์เน็ตจะมีโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเภทคือ        
1.โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อเพื่อจัดการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต  ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ
Window 95 จะมีโปรแกรม dial-Up Networking ที่ใช้ในการสื่อสารอยู่แล้ว
       2. โปรแกรมที่ใช้รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เช่น Eudora
       3. โปรแกรมที่ใช้ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เรียกกว่า บราวเซอร์ (Browser) เช่น Netscape Navigator, Internet Exploer
5.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)  ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 
 ซึ่งเป็นศูนย์บริการให้กับสมาชิก ซึ่งมีทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดย
ศูนย์บริการเหล่านี้จะต้องเสียเงินค่าเช่าสายสัญญาณไปต่างประเทศให้กับรัฐ…………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………….
4.จงบอกหน้าที่ของอุปกรณ์ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตต่อไปนี้
  4.1  เครื่องคอมพิวเตอร์
       ทำหน้าที่
มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
 และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะ
ยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ 
คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน……………………………………………………………………………………………………….
  4.2  โมเด็ม
       ทำหน้าที่
ทำหน้าที่กล้ำสัญญาณ หรือปรับเปลี่ยนลักษณะสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างของรูป
สัญญาณคลื่นพาห์(สัญญาณที่เป็นตัวขนส่งความถี่สูง)ด้วยสัญญาณข้อมูลที่จะถูกส่งผ่าน เช่น กระแสบิตดิจิตอล
(อังกฤษ: digital bit stream)หรือสัญญาณเสียงอนาล็อก การกล้ำสัญญาณรูปคลื่นไซน์จะแปลงสัญญาณข้อความ 
baseband เป็นสัญญาณ passband และแปลงกลับในทิศทางตรงข้าม จุดประสงค์ของโมเด็มคือการสร้างสัญญาณ
ที่ง่ายต่อการส่งข้อมูล และง่ายต่อการประมวลผล……………………………………………………………………………………………………….
  4.3  โทรศัพท์
       ทำหน้าที่
เป็นอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคมที่อนุญาตให้ ผู้ใช้สองคนหรือมากกว่า สามารถสนทนากัน เมื่อพวกเขา
ไม่ได้อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันที่จะได้ยินเสียงกันโดยตรง เครื่องโทรศัพท์จะแปลงเสียง, โดยทั่วไปเป็นเสียงมนุษย์,
 ให้เป็นสัญญาณ อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสำหรับการส่งผ่านทางสายเคเบิลหรือผ่านสื่ออื่น ๆในระยะทางไกล, และ
 เมื่อถึงผู้รับปลายทาง จะเปลี่ยนสัญญาณดังกล่าวกลับให้อยู่ในรูปแบบที่จะสามารถเข้าใจได้ คำว่าโทรศัพท์ได้รับ
การดัดแปลงเป็นคำศัพท์หลายภาษา มันมาจากกรีก: τῆλε ,Tele แปลว่าไกล และ φωνή , แปลว่าเสียง เมื่อรวมกัน 
หมายถึงเสียงที่อยู่ห่างไกล สำหรับระบบโทรศัพท์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีนั้น ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Telephony………………………………………………………………………………………………………….
  4.4  ซอฟต์แวร์
       ทำหน้าที่
จัดการเกี่ยวกับทรัพยากรภายในองค์กร เป็นเครื่องมือในการสร้างความได้เปรียบของทรัพยากร
ที่มีต่อคู่แข่งขัน เป็นสื่อกลางระหว่างองค์กรและการเก็บสารสนเทศภายในหน่วยงาน……………………………………………………………………………………………………….
  4.5  ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
       ทำหน้าที่
บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน่วยงานราชการ
หรือสถาบันการศึกษา กับบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป………………………………………………………………………………………………………….

5.อธิบายความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
   1.1 E-Mail  
อีเมล (อังกฤษe-mail, email) ย่อมาจาก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
 (อังกฤษelectronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้
ป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย……………………………………………………………………………………………………….
   1.2 FTP  เอฟทีพี หรือ เกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้ม [1] (อังกฤษFTP: File Transfer Protocol) เป็นโพรโทคอล
เครือข่ายชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนและจัดการไฟล์บนเครือข่ายทีซีพี/ไอพีเช่นอินเทอร์เน็ต เอฟทีพีถูกสร้าง
ขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบระบบรับ-ให้บริการ (client-server) และใช้การเชื่อมต่อสำหรับส่วนข้อมูลและส่วนควบคุม
แยกกันระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย ……………………………………………………………………………………………………….….
   1.3 Search Engine …เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหา[1] คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหา
ข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่
 ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่
จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้อง
การขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย
และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป………………………………………………………………………………………………
   1.4 Blog  บล็อก (อังกฤษblog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (อังกฤษweblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภท
หนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติ
จะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตก
ต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความ
ที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้
ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"………………………………………………………………………………………………………….
   1.5 Chat  …คือการพูดคุยออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยอาจใช้โปรแกรมแตกต่างกันไปค่ะ เช่น MSN, Google talk,
 Yahoo Messenger, Skype……………………………………………………………………………………………………….
6.ที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address) คือ

เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้วิธีหนึ่ง 

ซึ่งนอกจากจะมีข้อดีแล้ว
ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ควรศึกษาก่อน การใช้งาน เพื่อให้สามารถตัดสินใจและ

ใช้งานได้อย่างถูก

……………………………………………………….
   …………………………………………………………………………………………………………………….
   ใช้สำหรับ

การติดต่อสื่อสารประเภทจดหมาย คือ มีการพิมพ์
ข้อความผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้วแปลงเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แทน

การเขียนข้อความลงในกระดาษ
แล้วใช้การส่งข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่อง

คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งแทนการส่งจดหมายผ่านทางไปรษณีย์

…………………………………………………………………………………………………………
   ประกอบด้วย
   1  …
 อีเมล์สำนักงาน………………………………………………………………………………………………………….
     2  …อีเมล์โดย ISP ………………………………………………………………………………………………………….
     3  …อีเมล์ที่ให้บริการฟรีทั่วไป………………………………………………………………………………………………………….
7.การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน สามารถทำได้อย่างไร
……
สามารถนำข้อมูลของผู้ใช้ โอนย้ายให้กับผู้อื่น หรือนำไปไว้ในเครื่องบริการที่เชื่อมต่ออยู่บนอินเทอร์เน็ตที่อื่น
ซึ่งผู้ใช้มีสิทธิ์ในการใช้
    ซอฟต์แวร์โอนย้ายข้อมูลนิยมใช้กัน 2 ชนิด ได้แก่  WS_FTP  และ Cute  FTP ซึ่งในที่นี้จะขอนำเสนอวิธีการใช้งาน
ซอฟต์แวร์ WS_FTP เพราะมีวิธีการติดตั้งไม่ยุ่งยากและใช้งานง่าย
    การโอนย้ายข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ WS_FTP  ที่ติดตั้งแล้ว ทำได้โดยเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้วปฏิบัติ
ดังนี้ 
1.ดับเบิลคลิกที่ปุ่มคำสั่งของซอฟต์แวร์ WS_FTP  เพื่อเปิดใช้งาน
2.เลือกข้อมูลที่ต้องการโอนย้าย
3.คลิกปุ่มคำสั่ง ลูกศรชี้ไปทางขวา
4.แสดงการโอนย้ายสำเร็จ………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………….
8.จงบอกหลักการค้นหาข้อมูลของ Search Engine
……
การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหา
ข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า
Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่  รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่
Web search engine ที่นิยมใช้กันมากที่สุด 3 อันดับ คือ  1. Google  2. Yahoo  3. MSN/Windows Live
………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………….
9.จงบอกขั้นตอนการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine
ขั้นตอนการสืบค้นเว็บไซต์ข้อมูลด้วย Search Engine
               1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/
               2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “เว็บ”
               3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
               4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา”
               5. ระบบจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงออกมาในรูปแบบ
ของลิ้งค์พร้อมคำอธิบายประกอบ
 …………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………….
10.การค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser สามารถทำได้อย่างไร
………
สืบค้นโดยการเชื่อมโยงการค้นจากหลาย ๆ Search Engine แล้วแสดงผลลัพธ์ออกมาใน
มาตรฐานเดียวกัน การแสดงผลมักจะอ้างอิงถึงที่มาของ Search Engine นั้นๆ การสืบค้นด้วย
 Meta-search engines  จึงทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาในการสืบค้นSearch Engine ทีละแหล่ง
 ดังนั้น จึงเหมาะสมกับการสืบค้นที่ต้องการสืบค้นจากหลาย ๆ แหล่งสืบค้นในเวลาเดียวกัน
Meta-search engines ที่นิยม เช่น Dogpile (http://www.dogpile.com), Clusty (http://ww.clusty.comและMetaCrawler (http://www.metacrawler.com)……………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………….
11.จงยกตัวอย่างโปรแกรมสนทนาบนเครือข่ายมา 1 โปรแกรม พร้อมทั้งอธิบายการทำงานของโปรแกรมนั้นๆ
……
PIRCH เป็นโปรแกรมสนทนาประเภท Internet Relay Chat ที่ใช้เชื่อมต่อเข้าไปยัง Server ที่ให้บริการ
 การสนทนาจะทำเหมือนกับการส่งข้อความ (Message) คุยผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เราเรียกวิธีนี้ว่า การแชท (Chat) เมื่อต้องการสนทนาจะต้องเปิดเข้าที่โปรแกรม PIRCH เท่านั้น 
                ประโยชน์ของ PIRCH ก็เหมือนกับโปรแกรมอื่น ๆ ที่คุยกันได้ทีละหลาย ๆ คนในครั้งเดียว สามารถส่งรูป
หากันระหว่างเรากับเพื่อนสนทนาได้ ภายในโปรแกรมยังแบ่งเป็นห้องสนทนาย่อย ๆ ตามความสนใจของผู้เล่น 
จะคุยเป็นการส่วนตัว (เราเรียกกันว่าซิป) หรือจะคุยผ่านหน้าห้องนั้น ๆ ก็ได้ ตัวอย่างห้องสนทนาในโปรแกรม
 เช่น ห้องคนน่ารัก ห้องคนขี้เหงา ห้องผู้หญิงทำงาน หรือรวมไปถึงห้องขายบริการ ฯลฯ………………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………………………….


ซอฟต์แวร์ 


Software (ซอฟต์แวร์) เป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ที่เราไม่สามารถสัมผัสจับต้องได้โดยตรง เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรม (Program) ที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ให้สามารถเข้าใจกันได้

ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)
          หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ

ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้
          1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X
          1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data)
          1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์ หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้
          โดยปกติโปรแกรม windows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดเวอร์เอง เช่น ไดเวอร์สำหรับเมาส์ ,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้ USB Port , ไดเวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดเวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์
          1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
          ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร

ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

          2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
          2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

ข้อสอบ

1.หน่วยความจำใดเมื่อไฟฟ้าดับข้อมูลที่บันทึกไว้จะหายไปทันที
ตอบ  แรม
2.หน่วยแสดงผลชั่วคราวได้แก่อุปกรณ์ใดบ้าง
ตอบ  จอภาพ  อุปกรณ์เสียง  อุปกรณ์ฉายภาพ
3.หน่วยเก็บข้อมูลสำรองแบ่งออกเป็นกี่ประเภทใหญ่  อะไรบ้าง
ตอบ  4 ประเภท
          1.

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์


เคส (case) 
เคส (case) คือ กล่องหรือโครงสร้างสำหรับเก็บประกอบอุปกรณ์ต่างๆ คอมพิวเตอร์ไว้ภายในนั้น ซึ่งขนาดของเคสก็จะแตกต่างกันออกไป แล้วแต่การใช้งานหรือความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละคนรวมทั้งสถานที่เก็บอุปกรณ์เหล่านั้นด้วยว่ามีขนาดพื้นที่มากน้อยเพียงใด และในตัวเคสก็จะมีในส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย


พาวเวอร์ซัพพลาย


 เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

 

                                คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์ (Keyboard) 



เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมี เนื่องจากตัวคีย์บอร์ดใช้สำหรับการพิมพ์หรือป้อมข้อมูลต่างลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ในตัวคีย์บอร์ดจะมีทั้งที่เป็นตัวอักษรที่เป็นภาษาหลักของแต่ละประเทศรวมทั้งภาษาหลักอย่างภาษาอังกฤษอยู่ด้วย และยังมีข้อมูลทั้งตัวเลขและฟังก์ชันต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานและอื่นๆ อีก เพื่อใช้สำหรับลงข้อมูลในตัวเครื่องของเรา โดยส่วนใหญ่แล้วคีย์บอร์ดมีลักษณะที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน แต่ในปัจจุบันก็อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของคนออกแบบนั้นเอง

 

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) 



เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลหรือเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ และเป็นอุปกรณ์ที่ติดมาพร้อมกันกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งตัวฮาร์ดดิสก์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมและมีแผงวงจรสำหรับควบคุมการทำงานอยู่ด้านล่างและช่องสำหรับเสียบสายไฟเลี้ยงและสายสัญญาณต่างๆ โดยที่ส่วนประกอบภายในจะปิดไว้อย่างมิดชิดเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น

 

เมนบอร์ด (Main board)


เป็นแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆ ไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด

 

ซีพียู (CPU)


 มีหน้าที่ในการประมวลผลหรือเรียกว่าโปรเซสเซอร์หรือชิป เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากเนื่องจากมีหน้าที่ในการประมวลผลจากการป้อนข้อมูลลงไป

 

                                           การ์ดแสดงผล (Display Card)


หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควรโดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย

 

เมาส์ (Mouse) 

จะเป็นอุปกรณ์ที่ให้ความรู้สึกที่ดีต่อการใช้งาน ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนจอภาพ หรือเรียกง่ายๆ ว่าตัวชี้ตำแหน่งนั่นเอง ในขณะที่สายตาจับอยู่ที่จอภาพก็สามารถใช้มือลากเมาส์ไปมาได้ ระยะทางและทิศตจะสัมพันธ์และเป็นไปในแนวทางเดียวกับการเลื่อนเมาส์เมาส์แบ่งได้เป็นสองแบบคือ แบบทางกลและแบบใช้แสง แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น แต่ในปัจจุบันเมาส์แบบลูกกลิ้งไม่ค่อยนิยมนำมาใช้กันแล้ว

 

แรม (RAM)


เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผล แรมเป็นหน่วยความจำหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเก็บข้อมูลเมื่อมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงเท่านั้น โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที

 

CD Drive / DVD Drive / CD-RW Drive / DVD-RW Drive



เป็นไดรฟ์ สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้
เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกหรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ

 

CD-ROM / DVD-ROM



                    ิ ภายในซีดีรอม หรือดีวีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอม หรือดีวีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น